Translate

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Build iron Man ตอนที่ 6 ว่ากันเรื่องเงินเดือน




สวัสดีครับ พบกับ Build Civil Man อีกครั้งนะครับ
วันนี้ขอพักเรื่องอาชีพและงานของวิศวกรโยธาก่อน เรามาเปลี่ยนเรื่องคุย กันดีกว่า
เรื่องคุยใหม่ที่ว่า คงเป็นเรื่องชอบของคนหลายๆคนนะครับ นั่นคือเรื่ิองของ
เงินๆทองๆ
หลายๆคนคงอยากทราบว่าเงินเดือนของวิศวกรโยธานั้นอยู่ที่เท่าไหร่กัน
ของแบบนี้มันอยู่ที่ช่วงเวลาและเศรษฐกิจครับ
ตำนานเล่าว่า... ช่วงปีพุทธศักราช 2535 ในยุคที่ทองคำบาทละไม่ถึงหมื่นวิ่งอยู่ในช่วงหลักพันบาท
มีนายกรัฐมนตรีที่มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ยุคที่ที่ดินโอนเปลี่ยนมือกันอย่างบ้าคลั่ง
ในโฉนดที่ดิน 1 ใบ ว่ากันว่า เช้าถึงเย็นโอนเปลี่ยนมือกันถึง 3 ครั้งภายในวันเดียวกัน
และคนสุดท้ายซื้อแพงกว่าคนแรกที่ขาย 2 เท่า
ในยุคที่ตบาดหุ้นพุ่งไป 1700 กว่าจุด
อาชีพวิศวกรโยธา จบใหม่ เงินเดือนสตาร์ท 40,000 บาท และมีบริษัทมาจองตัวถึงมหาวิทยาลัย
และ...
ตำนานเดียวกันนั้นอีก(นั่นแหล่ะ).. เล่าว่าถัดมา 7 ปีจากยุคดังกล่าว วิศวกรโยธาจบมาเงินเดือน 8,000 บาท
และมีข้อแม้ว่าต้องหางานทำได้ด้วย
ที่ไม่มีงานทำ หากอยากทำงานน่ะ ก็รับอยู่นะ แต่ไปกรอกใบสมัครตำแหน่งโฟร์แมน(หัวหน้าคนงาน)โน่น
วิศวกรรุ่นโชคร้ายทางเศรษฐศาสตร์รุ่นนั้น ปัจจุบันเข้าทำงานในระบบราชการกันร้อยละ 70
อีกร้อยละ 25 เรียนต่อปริญญาโท MBA ได้ดิบได้ดีกันในวงการการเงิน เพราะพวกนี้หัวดีด้านคำนวณเป็น
ต้นทุนเดิมที่มีอยู่แล้ว บวกกับศาสตร์ด้านการเงิน ทำให้เดินในเส้นทางสายนี้ได้ดี
เกริ่นมาเนิ่นนาน ผมก็ไม่ได้คลุกคลีเงินเดือนปัจจุบันมากมายนักในยุคปริญญาตรี 15,000 บาท
ค่าแรงวันละ 300 บาท ในความรู้สึกตึกรามบ้านเรือนขึ้นใหม่มากมายเหลือเกิน วงการนี้กำลังจะบูม!!
ค่าจ้างเงินเดือนมันก็ควรจะบูมตามไปด้วยสินะ แต่...ไม่ใช่ !!
จากการสำรวจ โดยโพลตัวเอง ไปถามคนนั้นคนนี้ที่รู้จัก ไปดูในเวปสมัครงาน
เอาเงินเดือนล้วนๆ ไม่นับค่าวิชาชีพ ค่าใบกว. ค่าออกไซต์ ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ โอที ฯลฯ
ประมวลผลออกมาได้ว่า ดังนี้
                                   บริษัทไทยๆธรรมดา                     บริษัทไฮเอนด์ ลูกครึ่งต่างชาติ
วิศวกรสำรวจ จบใหม่ 13,000 ถึง 15,000 บาท                        18,000 ถึง 21,000   บาท
วิศวกรสนาม   จบใหม่ 14,000 ถึง 16,000 บาท                       19,000 ถึง 23,000   บาท
วิศวกรสำนักงาน จบใหม่  14,000 ถึง 16,000 บาท                   16,000 ถึง 25,000   บาท

วิศวกรโครงการ.             25,000 ถึง 45,000 บาท                   28,000 ถึง 60,000   บาท

โปรเจคเมเนเจอร์            40,000 ถึง 70,000 บาท                    60,000 ถึง 120,000 บาท

(ผู้จัดการโครงการ)


เหนือกว่านี้ไปจะเป็นตำแหน่งบริหารแล้วไม่ขอพูดถึงนะครับ อย่าง ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม ไม่ขอเอ่ยถึงครับ

ไว้เดี๋ยวมาต่อกันตอนหน้า

สำหรับวันนี้ ขอตัวก่อน. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ


วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ฺBuild Iron man ตอนที่5 " office engineer " [Part ii ]



 การทำ บาร์คัดลิสต์ ก็เป็นงานสำคัญอย่างหนึ่งของ OE.
 คือการจัดทำแบบการตัดเหล็กเสริมคอนกรีต เพื่อให้เหล็กเหลือเศษให้น้อยที่สุด
 คือ ใช้เหล็กเส้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะกำไรหรือไม่กำไรก็ดูกันที่ตรงนี้ด้วยบางที
 โครงการใหญ่ๆที่ต้องใช้เหล็กจำนวนมากก็คุ้มค่าที่จะทำทีเดียว



 นอกเหนือจากงานด้านเอกสารสำคัญๆในเชิงเทคนิคแล้ว งานของ OE นั้น
 ยังอาจจะมีเรื่องของการประสานงานกับอีกหลากหลายกลุ่มคนอีกด้วย
 เช่น การตรวจเช็คผลงานผู้รับเหมา กล่าวคือ เมื่อผู้รับเหมาได้ทำงานแล้วเสร็จไประดับหนึ่ง
 ก็จะจัดทำเอกสารเรื่องขอส่งผลงานเพื่อเบิกจ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ทำไป วิธีคิดผลงานก็ตามแต่จะตกลงกัน
 ในตอนทำสัญญาจ้างกันระหว่างสองฝ่าย บางครั้งก็จ้างแบบเหมารวม (Lump sum)
 บางครั้งก็จ้างแบบราคาต่อหน่วย (unit cost) โดยจะมีช่างหรือโฟร์แมนคอยช่วยเราวัดปริมาณงานพร้อมทั้ง
 ตรวจสอบคุณภาพผลงานของผู้รับเหมาท่านนั้นด้วย อาจมีงานแก้ไขตรงจุดที่เราเห็นว่าไม่น่าจะส่งงวดงานผ่าน
 แต่ความยากไม่ได้อยู่ตรงนั้น อยู่ที่ตอนหลังจากวัดปริมาณหรือเบิกเงินแล้วนั้น หากผู้รับเหมาเกิดภาวะขาดทุนขึ้นมา
 ความลำบากใจบังเกิดเลย ณ บัดนาวทันที แต่ให้ข้อเตือนใจน้องๆที่ทำงานตรงนี้ว่า ขอให้ยึดถือปริมาณงานตามที่เราคิดได้
 ไว้ก่อน ส่วนหน้าที่จะช่วยปรับแก้ไขอย่างไรให้เป็นหน้าที่ของ ผู้จัดการโครงการหรือผู้มีอำนาจคนอื่นดีกว่า
 เพราะการทำอะไรโดยพลการ แม้จะหวังดีก็ตาม กลัวว่าผู้รับเหมาจะทิ้งงานแล้วบริษัทจะเสียหายมากกว่าเงินหลักพันหลักหมื่นนั้น
 เป็นหน้าที่ของผู้จัดการโครงการที่จะพิจารณาต่อไป



ฺBuild Iron man ตอนที่4 " office engineer " [Part I]


 สำหรับอาชีพวิศวกรโยธา สายงานทาง office engineer ชื่อก็บอกตรงตัวอยู่แล้วนะครับว่า ส่วนใหญ่ก็จะเน้นไปในงานด้านสำนักงาน จะออกไปหน้าไซต์งานโอกาสก็น้อย ถึงน้อยมาก

 หน้าที่ส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวกับงานด้านเอกสาร ซึ่งก็เยอะแยะมากมาย
 ยกตัวอย่างเช่น
 การทำ Shop Drawing  ความหมายของการทำ shop drawing ก็คือแบบก่อสร้างที่กำลังจะนำไปก่อสร้างจริง
 บางคนบอกว่า อ่าว แล้วทำไม ไม่ทำตามแบบก่อสร้างเดิมล่ะ  ?

 อธิบายง่ายๆอย่างนี้ครับ คือบางครั้ง ระยะที่เราเห็นกับระยะตามความเป็นจริงในแบบก่อสร้าง มันไม่เท่ากัน 
 ไม่ใช่ความผิดของผู้รับเหมาทำผิดพลาดซะทีเดียวหรอก บางครั้งแบบก่อสร้างเองก็ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์
 ติดโครงสร้างเสาบ้าง แนวเหลื่อมผนังบ้าง ระดับฝ้าเพดานไม่ได้บ้าง หากเกิดปัญหาแบบนี้ ขืนดันทุรังสร้างไปตามแบบเดิม
 มีหวังแก้ไขงานกันตามหลังกระจาย กำไรหายหมด เสียทั้งเวลาเสียทั้งค่าใช้จ่าย
  OE (office engineer) ก็จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่จุดนี้ให้ 

 หรือ บางคราวมีปรับเปลี่ยนแก้ไขงาน ตามที่เจ้าของงานสั่งมา หรือ คอนซัลท์สั่งมา OE ก็จะต้องทำเป็น
 บันทึกข้อความ ว่ามีเนื้อหาสาระอย่างไรบ้าง ที่เค้าสั่งมาแก้ไข เพื่อเป็นบันทึกช่วยจำและเป็นหลักฐานกันทั้งสองฝ่าย
 เผื่อภายหลังมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จะได้ไม่กล่าวโทษกัน โดยให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ หรือตัวแทนที่มีอำนาจเซ็นรับทราบ
 ในบันทึกข้อความทังสองฝ่าย


 
 ซึ่งบางครั้งจะเกิด มูลค่าการเปลี่ยนแปลงของงาน เราเรียกว่า "งานเพิ่ม-งานลด"
 จะทำเอกสารแก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่เราเรียกกันว่า VO.
 variation order หรือบางครั้งเรียกว่า change order ก็คืออันเดียวกัน 

ทั้งสองคำ หมายถึง เอกสารสั่งการ /แจ้ง เรื่องการเปลี่ยนแปลงงาน หรือขอบเขตงานจากข้อตกลงตามสัญญา หรือแบบแนบสัญญา ฯลฯลงนามอนุมัติโดยผู้มีอำนาจสั่งการตามสัญญา เช่นผู้ว่าจ้าง วิศวกรที่ปรึกษา หรือ สถาปนิก/วิศวกรผู้ออกแบบ (ต้องดูจากสัญญาก่อสร้างนะครับว่าใครเป็นผู้มีอำนาจ)พูดง่ายๆ ก็คือฝ่ายเจ้าของงานอยากเปลี่ยนแปลงอะไรจากแบบก่อสร้าง (แนบสัญญา) ก็ต้องออกเอกสารแจ้งผู้รับจ้างให้ทราบ/ดำเนินการนั้นเอง

บางทีเอกสารจะออกมาจากผู้รับจ้างก็ได้ เช่นผู้รับจ้างได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงจากการประชุมโครงการ หรือมีเอกสารสั่งการมา ก็จะทำเป็นแบบฟอร์ม variation order หรือ change order ระบุรายละเอียดงานที่เปลี่ยนแปลง ราคางานเพิ่ม/ลด ระยะเวลาที่เพิ่ม/ลดส่งให้ฝ่ายเจ้าของงานลงนามอนุมัติก่อนดำเนินงาน